สายเกมเตรียมโบกมือลา Facebook Gaming ปิดตัวอย่างเป็นทางการ 28 ตุลาคมนี้ หลังจากเปิดทำการมาได้ถึงสองปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทาง Meta เองก็ยังไม่ได้มีการประกาศชัดเจนถึงเหตุผลที่ปิดแอปนี้ลง แต่สายเกมเมอร์ทั้งหลายไม่ต้องเสียใจไปนะครับ เพราะยังมีอีกหลายช่องทางที่สามารถดูไลฟ์สตรีมเกมได้ อย่างเช่น twich Omlet Arcade Steamlabs เป็นต้น
Table of Contents
ToggleFacebook Gaming เป็นแอพพลิเคชั่นแยกในไทย ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูคอนเทนต์จากสตรีมเมอร์ได้ บริจาคเงินสนับสนุนเกมเมอร์ได้ หรือจะไลฟ์เล่นเกมของตัวเองหรือเกมจาก Instant Game ได้ สามารถแชร์คลิปไปยังบัญชีเฟซบุ๊กของตัวเองได้ด้วย ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา
ภายในแอพ Facebook Gaming จะมีแท็บการใช้งานหลักๆ คือ Go Live กดไลฟ์เล่นเกมจากมือถือของตัวเอง แท็บ Streamer ซึ่งระบบจะแนะนำสตรีมเมอร์มาให้, แท็บ Follow Games เลือกเกมที่ชอบอยากดู และอยากติดตามข่าวสารอื่นๆ ของเกมนั้นๆ ได้ เป็นต้น ตัวหน้าจอมีการใช้งานคล้ายแอพหลักเฟซบุ๊ก คือสามารถกดไลค์ คอมเม้นท์ กดอีโมจิ reaction ได้
แต่ก็น่าเสียดายที่ทางบริษัท Meta ได้ประกาศปิดบริการ แอพ Facebook Gaming ในวันที่ 28 ตุลาคม 2022 นี้ หลังจากเปิดบริการมาได้ไม่นาน ทั้งบน iOS และ Android จะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และ ฟีเจอร์ในการรับชมไลฟ์สตรีม จะยังเข้าถึงได้ผ่านแอปหลักอย่าง Facebook แต่ชาว Streamer ก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะยังมี Platform อื่นๆไว้รองรับสำหรับชาว Streamer อื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
ทวิตช์ (Twitch) เป็นแพลตฟอร์มที่โด่งดังอย่างมากในต่างประเทศ ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มของคนเล่นเกม ซึ่งมีผู้ใช้งานในไทยเป็นจำนวนตัวเลขที่ไม่น้อยเลย เมื่อย้อนหลังกลับไปในปี 2007 ในเวลานั้นโลกยังไม่รู้จักทวิตช์ แต่สิ่งที่โลกรู้จักนั่นคือแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า Justin.tv ที่มีทีมพัฒนาโดยคน 4 คน ได้แก่ Justin Kan, Emmett Shear, Michael Seibel และ Kyle Vogt ร่วมกันก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆ นี้ขึ้นมา
Justin.tv ได้รับเงินลงทุนจาก Paul Graham และไปถึงการระดมทุนในรอบ Series A จุดมุ่งหมายของ Justin.tv ในเวลานั้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มเผยแพร่วิดีโอออนไลน์ โดยมีระบบ “Broadcast” ซึ่งคล้ายกับยูทูบ (YouTube) อย่างไรก็ดี Justin.tv ห่างไกลจากคำว่าประสบความสำเร็จ ก่อนที่ในปี 2010 จะมีการตัดสินใจนำเซกชันเกมออกจากแพลตฟอร์ม พร้อมกับตั้งชื่อว่า ทวิตช์
เมื่อทวิตช์ หันมาจับตลาดเกมอย่างเป็นจริงเป็นจัง ก็ได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม โดยมีผู้ใช้งานในระบบไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคนต่อเดือน เมื่อประสบความสำเร็จก็ได้มีการจัดตั้งบริษัทแม่เพื่อดูแลกิจการของทวิตช์โดยเฉพาะในชื่อ Twitch Interactive และสุดท้ายถูกแอมะซอน (Amazon) เข้าซื้อกิจการในปี 2014 ด้วยเงินสด 970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากที่ทวิตช์เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มของแอมะซอนอย่างเป็นทางการแล้ว แอมะซอนได้มีความพยายามในการขยายบริการของทวิตช์ไปในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากเกม ทั้งการจับกลุ่มคนทำอาหาร, นักดนตรี รวมถึงพอดแคสต์ โดยการสตรีมมิง (Streaming) ซึ่งเป็นจุดแข็งดั้งเดิมของทวิตช์ก็ยังคงสงวนจุดแข็งนี้เอาไว้
พร้อมกันนี้ ทวิตช์ได้ขยายตัวเองเป็นเหมือนสถานีทีวีสำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันอีสปอร์ต (E-Sport) ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน Overwatch, DOTA 2, League of Legends, PUBG และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ภายในทวิตช์ยังมีระบบ Subscribe ซึ่งเป็นระบบสร้างรายได้แก่เจ้าของแชนแนลในทวิตช์ เป็นต้น สำหรับแพลตฟอร์มทวิตช์ รองรับการใช้งานทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android และบนหน้าเว็บไซต์ Twitch.tv
Omlet Arcade ถือเป็นแอพสตรีมเกมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอีกแอพหนึ่ง ด้วยฟังก์ชันที่สนับสนุนการสตรีมเกมเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อนักแคสเกมและเหล่าสตรีมเมอร์ทั้งหลาย ผู้ชมสามารถสนับสนุนสตรีมเมอร์ที่ชอบผ่านทางการโดเนท หรือ Omlet Tokens เพื่อไว้ซื้อของในแอพก่อนจะส่งให้สตรีมเมอร์คนโปรด เป็นแอพที่เหมาะกับสตรีมเมอร์ในทุก ๆ ระดับครับ
หน้าตาของแอพก็ใช้งานง่าย แบ่งหมวดหมู่ของเกมชัดเจนระหว่างไลฟ์สตรีมมิ่งและคลิปอื่น ๆ มีแค่สมาร์ตโฟนกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ก็ถ่ายทอดสดการสตรีมมิ่งของตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลา มีเกมยอดนิยม เช่น PUBG MOBILE, ROV, Freefire, Minecraft และ Fornite ให้เลือกสตรีมด้วย สิ่งที่หลาย ๆ คนชอบคือกิจกรรมภายในแอพที่มีขึ้นเพื่อการสตรีมอย่างต่อเนื่องครับ
Streamlabs OBS เป็นแอพพลิเคชั่นการสตรีมที่คุณสามารถใช้เพื่อสตรีมเกมจากคอมพิวเตอร์ของคุณได้ ในขณะนี้ Facebook Gaming ได้ผสานการทำงานกับ Streamlabs OBS (SLOBS) พร้อมรองรับ API ทั้งหมด
ทั้ง OBS Studio และ Streamlabs OBS เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับ Live Streaming ที่เหมาะ สตรีมเมอร์เกือบทั้งหมดบน YouTube, Twitch และ Facebook Live ใช้หนึ่งในโปรแกรมเหล่านี้ แม้ว่าทั้งสองแอปจะคล้ายกัน แต่ก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน อันไหนเหมาะที่สุดสำหรับความต้องการของทุกคนครับ
ทั้ง OBS Studio และ Streamlabs OBS เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับ Live Streaming ที่เหมาะ สตรีมเมอร์เกือบทั้งหมดบน YouTube, Twitch และ Facebook Live ใช้หนึ่งในโปรแกรมเหล่านี้ แม้ว่าทั้งสองแอปจะคล้ายกัน แต่ก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน อันไหนเหมาะที่สุดสำหรับความต้องการของทุกคนครับ
OBS Studio ใช้งานได้บนทั้ง Windows (ยกเว้น Windows XP), Mac และ Linux ปัจจุบัน Streamlabs OBS โดย Streamlabs สามารถติดตั้งบนอุปกรณ์มือถือได้ แต่คุณจะต้องซื้อ Streamlabs Prime เพื่อลบลายน้ำเพิ่มเติม
อีกอย่างหนึ่งคือการปรับปรุง เนื่องจาก Streamlabs OBS ใช้โค้ดที่แก้ไขจาก OBS Studio ผู้ใช้จึงต้องรอนานขึ้นสำหรับการอัปเดตตัวเข้ารหัสและไดรเวอร์ใหม่ โดยรวมแล้ว สิ่งนี้ทำให้เวอร์ชัน Studio มีความได้เปรียบเล็กน้อยครับ
ซึ่งทั้งสองรองรับการสตรีมสดบนทุกแพลตฟอร์มการสตรีมยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็น Twitch, YouTube Live, Facebook Live และอีกมากมาย
เป็นยังไงบ้างครับ กับ Platform Streaming ที่ทางเราได้แนะนำมา ไม่ว่าจะเป็น Twich , Omlet Arcade , Steamlabs ถึงแม้ Facebook Gaming จะปิดตัวไป แต่ก็ยังมี Platform อื่นๆรองรับอีกมากมาย เพื่อนๆสาย Stream คนไหนสะดวกช่องทางไหนก็สามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวกเลยนะครับ
เรียนจบคณะผลิตกรรมการเกษตร แต่ได้มาทำงานสาย Account Manager เป็น AM สายจิตนาการ ที่สามารถนำภาพในหัว Create ให้ออกมาเป็นผลงานได้ รอบรู้ทั้งเรื่องงานขาย งานเขียน และการเจรจาต่อรอง ชอบการพูดคุยกับลูกค้า และมีความสุขทุกครั้งเวลาได้ทำงานเยอะๆ
25/2 ถนนนครอินทร์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด