ตอบชัด! บทบาทและความสำคัญของการทำ Live Streaming ในปัจจุบัน​

ข้อดีของ Hybrid Event

การทำ Live Streaming คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการตลาด?

แม้ปัจจุบันเราจะได้เห็นการทำไลฟ์ขายของมากมาย แต่เมื่อพูดถึงในแง่ของการโปรโมตสินค้าหรืออีเวนต์ รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ หลาย ๆ แบรนด์กลับเลือกใช้ KOL และ Influencer สำหรับลงรูปหรือคลิปแบบเรียลไทม์เสียมากกว่า แต่สำหรับการไลฟ์สดเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้คนทั่วไปได้ดูพร้อมกันนั้น จะเหมาะสมกับการจัดงานประเภทใด วันนี้เราจะพาไปรู้จักกันให้มากขึ้น พร้อมไปหาคำตอบกันว่าการทำ Live Streaming คืออะไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในการทำการตลาดในยุคปัจจุบัน?

Live Streaming คืออะไร?

การทำ Live Streaming คือการถ่ายทอดสดภาพและเสียงบนอินเทอร์เน็ต ผ่านระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมได้อย่างอิสระผ่านอุปกรณ์ เช่น สมาร์ตโฟน Notebook ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังนำไปต่อยอดเพื่อส่งเสริมการตลาดได้อิกด้วย

 การทำ Live Streaming คืออะไร

 

ในยุคปัจจุบัน Live Streaming มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร?

1.สามารถให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจร่วมกันได้

ด้วยความสะดวกของ Hybrid Event ที่ผู้เข้าร่วมงาน สามารถเข้าร่วมได้จากทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงสถานที่จริงอีกต่อไป จึงช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง การเดินทาง และความจุของสถานที่ ทำให้สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้มากขึ้น

การโพสต์งานที่ไม่ได้มาจากแบรนด์โดยตรง อาจทำให้เกิดข้อมูลที่คลาดเคลื่อน หรือการโต้ตอบเกี่ยวกับรายละเอียดที่ทางแบรนด์ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการ Live Streaming จากบริษัทหรือแบรนด์โดยตรง จะช่วยลดความสับสนเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เพราะเป็นการสื่อสารจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้ ยังสามารถโต้ตอบคำถามด้วยข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว และต่อยอดไปยังเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ได้ง่ายอีกด้วย

2. สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

การโพสต์ในพื้นที่ของ Influencer อาจสามารถช่วยประชาสัมพันธ์และเพิ่มความสนใจให้กับบรรดาผู้ติดตามได้จริง แต่อาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลัก แต่ในการทำ Live Streaming จากแบรนด์โดยตรงจะมั่นใจได้ว่า ผู้ที่เข้ามารับชมต้องการที่จะ Engagement กับแบรนด์จริง ๆ และยังเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในสินค้าหรือบริการ อีกทั้งผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายยังสามารถเลือกการเข้าชมได้จากแพลตฟอร์มออฟฟิเชียลที่คุ้นเคยได้ง่าย เนื่องจากการไลฟ์สดสามารถส่งสัญญาณการสตรีมไปได้ในหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน จึงช่วยให้สามารถเข้าถึงและดึงกลุ่มผู้ชมได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

3. เสริมความน่าเชื่อถือ

ในบางครั้งการทำ Live Streaming ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะแบรนด์ต้องการจะสื่อสารกับผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น แต่การมีไลฟ์ในงานสำคัญ เช่น การเปิดงานอิเวนต์ใหญ่ประจำปี จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่น่าติดตามและดูเป็นทางการมากขึ้น

4. ช่วยสร้างรายได้

ในปัจจุบันเราอาจจะได้เห็นการไลฟ์สดขายของ หรือเปิดสอนคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ มากมาย หรือแม้แต่การขายบัตรคอนเสิร์ตออนไลน์ก็มีให้เห็นเช่นกัน ซึ่งการสร้างรายได้รูปแบบใหม่ด้วยการทำ Live Streaming เป็นการเสริมการตลาดที่ได้รับความนิยมไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะเมื่อผ่านสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้หลายคนไม่ออกจากบ้าน อีกทั้งยังสามารถรองรับจำนวนคนที่คนมารับชมได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย

5. ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูล

การทำ Live Streaming จะทำให้แบรนด์สามารถจัดเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และประเมินผลระหว่างการไลฟ์สดได้ในเบื้องต้น ทั้งจำนวนผู้เข้าชม ระยะเวลาในการไลฟ์ที่มีผู้ชมมากที่สุด เรื่องราวและผลิตภัณฑ์ที่ผู้ชมให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยสามารถรับฟีดแบคได้จากทางคอมเมนต์ เพื่อนำไปปรับปรุงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

บทบาทของการทํา Live Streaming

เคล็ดลับเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทํา Live Streaming

1. กำหนดเนื้อหา วางแผนคอนเทนต์

เนื่องจากการทำ Live Streaming คือการถ่ายทอดสดที่ไม่สามารถตัดต่อแก้ไขได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมตัวให้ดีเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยเริ่มจากการวางแผนและกำหนดจุดประสงค์ของการไลฟ์ให้ชัดเจนว่าต้องการทำเพื่ออะไร เช่น หากต้องการขายของออนไลน์ ก็ต้องเตรียมสินค้าและข้อมูลให้พร้อม หรือถ้าจะไลฟ์เพื่อประชาสัมพันธ์งานอีเวนต์ก็ต้องมีข้อมูลของงานอย่างครอบคุลม หรือหากเป็นการไลฟ์สดในงานออกบูธต่าง ๆ จะต้องกำหนดเส้นทางและเคลียร์ผู้คนในบูธที่ต้องการแนะนำเอาไว้ด้วย ที่สำคัญจำเป็นจะต้องวางเนื้อหาให้ครบตั้งแต่เริ่มต้น ว่าต้องทำการแนะนำอย่างไร เริ่มทำอะไร ที่ไหน และอย่างไรบ้าง จนกว่าจะจบไลฟ์ โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ KOL หรือ Influencer เข้ามาเกี่ยวข้อง ยิ่งต้องกำหนดเนื้อหาให้ชัดเจนที่สุด เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น

2. โปรโมตล่วงหน้า

ถึงแม้ว่าการไลฟ์จะมีประโยชน์ในการถ่ายทอดสด แต่ก็ไม่สามารถคิดแล้วทำได้เลย แต่ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งการกำหนดรูปแบบคอนเทนต์ รวมถึงขั้นตอนโปรโมต หรือการโพสต์บอกตารางเวลาของการไลฟ์ในช่องทางออฟฟิเชียลก่อนเริ่มการถ่ายทอดสดประมาณ 2-3 วัน โดยจะต้องมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน ทั้งวัน เวลา สถานที่ รวมถึงจุดประสงค์ในการไลฟ์ เช่น ไลฟ์เปิดตัวสินค้า ไลฟ์ขายของ หรือไลฟ์ให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเตรียมความพร้อม และเลือกดูคอนเทนต์ที่สนใจได้

3. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

หลายคนอาจมองว่าการทำไลฟ์สดเป็นเรื่องง่าย เพียงมีโทรศัพท์สักเครื่องก็เพียงพอแล้ว แต่ไม่ใช่กับแบรนด์ใหญ่ที่ผ่านการวางแผนมาแล้วอย่างดี เพราะการไลฟ์ก็ไม่ต่างจากการทำรายการทั่วไป ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ให้เพียบพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางเทคนิคในระหว่างที่ถ่ายทอดสด โดยมีอุปกรณ์สำคัญที่ต้องตรวจเช็กสถานะให้ดี ดังนี้

3.1.กล้องถ่ายทอดสด (Live Streaming Camera)
3.2.ไมโครโฟน (Microphone)
3.3.อินเตอร์เน็ต (Internet)
3.4.คอมพิวเตอร์ (Computer)
3.5.ซอฟต์แวร์ (Software)
3.6.แบตเตอรี่สำรอง (Backup Battery)

เตรียมอุปกรณ์สำหรับการไลฟ์สตรีม

มาถึงตรงนี้คงเห็นแล้วว่าการทำ Live Streaming ให้สำเร็จลุล่วงเพื่อส่งเสริมการตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย ที่คิดจะทำก็ทำได้เลย หากไม่อยากเตรียมการถ่ายทำเองให้ยุ่งยาก ต้องเลือกใช้บริการจาก No More Work เรามาพร้อมกับ บริการ Live Streaming แบบครบวงจร จากผู้ที่มีประสบการณ์ตัวจริง ดูแลตั้งแต่การทำ Storyboard, Shooting, จัดเตรียมสถานที่ และส่งสัญญาณกันแบบสด ๆ ไม่กระตุก ราบรื่นตลอดการถ่ายทำ! สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล work@nomorework.co และโทร. 02-121-4361, 095-465-6452 ทีมงานของเราพร้อมให้บริการ