Live streaming vs Virtual event แบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ

Live streaming vs Virtual event แบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ

     ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างสามารถทำได้บนช่องทางออนไลน์ ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ถึงแม้ว่าตอนนี้สถานการณ์จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวมาใช้ช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น เช่นเดียวกับการจัดงานอีเว้นท์ที่แต่เดิมก่อนจะมีโควิด-19 นั้นงานอีเว้นท์ส่วนใหญ่ล้วนแต่จัดเป็นแบบออฟไลน์ แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นภาคบังคับที่ทำให้ธุรกิจ และผู้จัดงานอีเว้นท์หันมาจัดอีเว้นท์ออนไลน์เพื่อใช้ในสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทั้งภายใน และภายนอกองค์กร  จนถึงตอนนี้กลายเป็นช่องทางใหม่ที่ได้รับความนิยมจากภาคธุรกิจในการใช้ในการสร้างแบรนด์ และเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี ซึ่งสเกลของการจัดงานอีเว้นท์ออนไลน์เองนั้นมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ งบประมาณ ทรัพยากรของธุรกิจ หรือผู้จัดงาน โดยประเภทของการจัดงานที่เรามักจะเห็นกันบ่อยคือการจัดอีเว้นท์แบบ Live streaming และการจัด Virtual event แล้วธุรกิจจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเลือกใช้รูปแบบการจัดงานแบบใดถึงจะตอบโจทย์ธุรกิจ No more work มีคำตอบให้ในบทความนี้

Live streaming และ Virtual event เหมือนและต่างกันอย่างไร

รูปแบบ Live streaming

     เริ่มต้นจากการจัดงานแบบ Live streaming หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการจัดงานออนไลน์อีเว้นท์ที่จะมีการถ่ายทอดสด หรือไลฟ์สตรีมผ่านช่องทางออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ และสามารถปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลได้ให้เหมาะกับแต่ละช่องทาง รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสดไปบนโซเชียลมีเดียได้ในเวลาเดียวกัน เป็นทางเลือกในการจัดงานแบบดิจิทัลสำหรับกิจกรรมบางอย่างได้เป็นอย่างดี ซึ่ง Live streaming สามารถนำไปใช้ได้กับการจัดอีเว้นท์ หรือการจัดกิจกรรมหลากหลายประเภท ทุกคนตั้งแต่คนธรรมดา คนมีชื่อเสียง จนถึงคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ จนถึงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเชฟ ดีไซน์เนอร์ ช่างแต่งหน้า ล้วนแต่มีการทำวิดีโอไลฟ์สตรีมกันทั้งสิ้น ดังนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของธุรกิจในการที่จะทำ Live streaming ว่าต้องการทำเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในด้านใด
 

รูปแบบ Virtual event

     ส่วน Virtual event หรือการจัดงานแบบเสมือนนั้นตามชื่อเลยว่าเป็นการจัดงานในรูปแบบเสมือนผ่านช่องทางออนไลน์ที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมงานได้มีประสบการณ์ส่วนบุคคลกับอีเว้นท์ และเนื้อหาภายในงานนั้นๆ ผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าที่จะเป็นการรวมตัวกันในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง โดยที่ Virtual event นั้นจะเป็นการจำลองงานอีเว้นท์เหมือนที่จัดในสถานที่จริงมาอยู่บนออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งธุรกิจสามารถทำได้ทั้งจัดเป็น Virtual event แบบเดี่ยวๆ หรือจะจัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานอีเว้นท์แบบผสม (Hybrid event) ก็ได้เช่นกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ความพร้อม และงบประมาณในการจัดงานของธุรกิจ เรียกได้ว่าการจัดงานแบบเสมือนนั้นจะมีสเกลที่ใหญ่กว่าการทำอีเว้นท์ออนไลน์ทั่วไป โดยที่นอกจากจะมีเรื่องการถ่ายทอดสดผ่านทางออนไลน์แล้ว ยังจะจัดเตรียมงานกราฟฟิค 2D และ 3D ฉากกรีนสกรีน ตัวละครAvatar และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อให้งานออกมาเหมือนกับงานที่จัดในสถานที่จริงได้มากที่สุดนั่นเอง
Live streaming vs Virtual event แบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ

Live streaming เหมาะกับการจัดงานในลักษณะใด

     Live streaming ประยุกต์ใช้ได้กับการจัดงานในหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่วัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยส่วนมากแล้ว Live streaming จะเหมาะกับงานที่ต้องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) และสามารถจัดซ้ำบ่อยๆ ได้ตามธีม หรือแคมเปญการตลาดในแต่ะช่วง ลักษณะการจัดงานที่เหมาะกับการทำ Live streaming ได้แก่
  • การเปิดตัวสินค้า และบริการใหม่
  • แคมเปญประจำเดือน หรือประจำไตรมาส
  • งานสัมมนาให้ความรู้
  • แถลงผลประกอบการบริษัท (สำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
  • คอนเสิร์ต
  • การทำ Workshop ต่างๆ

ตัวอย่างของการจัดงานแบบ Live streaming ที่น่าสนใจ

     เมื่อไม่นานมานี้ No more work ได้รับความไว้วางใจจากทางแบรนด์ Bomi ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณพีพี กฤษฏ์เป็นพรีเซ็นเตอร์ ให้ดูแลการจัดการดูแลเรื่องการทำไลฟ์สดกับการบุกตลาดประเทศจีนผ่านการไลฟ์ในช่องทาง 淘宝 Taobao ที่เรียกได้ว่ายอดขายทะลุเป้าถล่มทลาย สำหรับแฟนคลับที่มารอซื้อสินค้ายังมีโอกาสได้รับการ์ดพร้อมลายเซ็นต์ของคุณพีพีอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการใช้ไลฟ์สดในการเข้าถึงกลุ่มแฟนคลับชาวจีน พร้อมเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางการไลฟ์สดได้เป็นอย่างดี
Live streaming vs Virtual event แบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ

Virtual event เหมาะกับการจัดงานในลักษณะใด

     Virtual event เองนั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการจัดงานในหลากหลายรูปแบบเช่นเดียวกัน โดยสิ่งที่แตกต่างจาก Live streaming นั้นอยู่ที่การจัดงาน Virtual event จะเหมาะกับงานที่มีสเกลค่อนข้างใหญ่ และเป็นการจัดงานในรูปแบบเสมือนกับการจัดงานในสถานที่จริง เหมาะกับงานที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับประสบการณ์เหมือนกับการไปเข้าร่วมงานในสถานที่ที่จริง แต่เป็นการเข้าร่วมงานผ่านช่องทางออนไลน์ ลักษณะการจัดงานที่เหมาะกับการทำ Live streaming ได้แก่
  • งานแสดงสินค้า (Tradeshow)
  • นิทรรศการ หรือการจัดประชุมต่างๆ
  • งานเปิดตัวสินค้า และบริการ
  • กิจกรรมภายในบริษัท เช่น Townhall กิจกรรม Team-building
  • Job fair
  • งานอื่นๆ ที่ต้องการเน้นการสร้างประสบการณ์ในการเข้าร่วมงานเหมือนกับไปงานในสถานที่จริง

ตัวอย่างของการจัดงานแบบ Virtual event ที่น่าสนใจ

     เมื่อช่วงต้นปี 2022 ทาง No more work ได้รับความไว้วางใจจากทาง AEON ผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำ ให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดงาน Virtual event ครั้งใหญ่ภายใต้ชื่องานว่า AEON Metaverse Virtual Party 2022 รองรับผู้เข้าชมมากกว่า 5,000 คน ผ่านระบบ Zoom โดยต้องมีการออกแบบตัวละครภายในงานที่อยู่ในรูปแบบของ Avatar เพื่อให้สอดคล้องกับธีมของงาน รวมไปถึงการสร้าง Interactive ออกมาในรูปแบบของ Gamification ซึ่งถือเป็นงานที่ได้รับผลตอบรับที่น่าประทับใจจากทั้งผู้จัดงาน และผู้เข้าร่วมงาน
Live streaming vs Virtual event แบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ

เลือกรูปแบบการจัดงานที่เหมาะกับธุรกิจ (ข้อดี vs ข้อจำกัด)

     การเลือกรูปแบบการจัดงานที่ตอบโจทย์ธุรกิจถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายได้ โดยที่การทำ Live streaming และ Virtual event นั้นต่างมีข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการจัดงานในแต่ละครั้งธุรกิจเองจะต้องประเมินว่าควรเลือกจัดงานในรูปแบบใดที่จะตอบโจทย์ และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับธุรกิจ โดยที่ข้อดี และข้อจำกัดของการจัดงานทั้ง 2 แบบมีดังต่อไปนี้

ข้อดี ข้อจำกัด ของการทำ Live streaming

ข้อดี

  • เข้าถึงได้ง่าย เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนก็สามารถไลฟ์สดได้
  • สามารถถ่ายทอดสดได้ง่ายผ่านทางสมาร์ทโฟน แต่หากต้องการทำเป็นสเกลที่ใหญ่ขึ้น สามารถหาผู้เชี่ยวชาญมาซัพพอร์ทในส่วนนี้ได้
  • เผยแพร่ได้ในหลากหลายช่องทางในโซเชียลมีเดีย
  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้างผ่านช่องทางต่างๆ

ข้อจำกัด

  • คอนเทนต์ต้องน่าสนใจเพียงพอที่จะดึงดูดคนดูได้
  • ต้องมีระบบหลังบ้านที่ช่วยซัพพอร์ทในการจัดไลฟ์สดที่พร้อม กล้อง ไมค์ รวมทั้งระบบจัดการการขาย
  • สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เร็วมากเพียงพอ

ข้อดี ข้อจำกัด ของการจัด Virtual event

ข้อดี

  • ให้ประสบการณ์เหมือนกับเข้าร่วมงานอีเว้นท์จริง
  • ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดูมีความทันสมัย และน่าตื่นตาตื่นใจ
  • ความพร้อมขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ กราฟฟิค 2D & 3D, ภาพประกอบ และ Avatar
  • ดึงดูดความสนใจ และสร้างความประทับให้กับผู้เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างดี

ข้อจำกัด

  • งบประมาณในการเตรียมงาน
  • ทรัพยากร และบุคลากรที่ใช้ในการจัดงาน และซัพพอร์ตในวันงาน
  • ขั้นตอนการทำงานที่มากกว่าการจัดไลฟ์อีเว้นท์ทั่วไป

กำลังมองหาผู้ให้บริการในการทำ Live streaming และ Virtual event

หากธุรกิจของคุณกำลังวางแผนที่จะจัดงาน Live streaming หรือต้องการจัดงานในรูปแบบ Virtual event แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร No more work ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้บริการในการจัดงานแบบ Virtual events และ Live streaming ยินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่การให้คำแนะนำ การวางแผนการจัดงาน รวมถึงบริการระบบ Live streaming การออกแบบกราฟฟิค และ Avatar ในการจัด Virtual events เพื่อให้การจัดงาน Virtual events ของคุณประสบผลสำเร็จ ด้วยประสบการณ์การให้บริการการจัด Virtual events มากับหลากหลายธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่เบอร์โทร 095-465-6452 หรือ work@nomorework.co

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า